ดอกบัวในเมืองพุทธ : ชอบความสุขแต่ทำไมเรายังเป็นทุกข์

 

ชอบความสุขแต่ทำไมเรายังเป็นทุกข์

เมื่อวานผมได้ฟังเทศน์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี พอได้ฟังแล้วผมรู้สึกทันทีเลยผมยังอ่อนอยู่มากในการปฏิบัติอ่อนจริงๆ เพราะถ้าผมปฏิบัติดีแล้วผมจะไม่เจอความทุกข์เลย ตอนนี้ถือว่าการปฏิบัติของผมยังอ่อนมากๆ

วันทั้งวันไม่ได้คิดอะไรเลยคิดถึงแต่เรื่องที่ทำให้ตัวเองทุกข์ทั้งสิ้นทั้งๆที่เมื่อเอาสติมาพิจารณาแล้ว ผมไปทุกข์กับเรื่องไม่เป็นเรื่องเลยครับ ดันปล่อยใจไปตามกิเลส ทุกข์แสนสาหัสเอาการเลย

ธรรมชาติของจิตนั้นจะคิดแต่เรื่องที่ไม่ดีหรือเรื่องที่นำทุกข์มาให้กับตัวเจ้าของหรือตัวเรานี้ ที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เนื่องจากตัวเรานั้นยังมีความต้องการอยู่มากๆ ถ้าได้มาก็ต้องการได้อีก แต่ถ้าไม่ได้ก็จะทุกข์ใจเพราะไม่ได้ เป็นเหตุให้ใจของบุคคลและสัตว์ทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์มากร้อนดังมีกองไฟมาสุ่มที่ร่างกาย……

ทางแก้ไขนั้น มีอยู่หนทางเดียวคือต้องมีสติปัญญาในการพิจารณาเห็นว่าความอยาก ความไม่ได้ตามใจหวัง นั้น มันเป็นสาเหตุทำให้เราเกิดทุกข์ แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดสติปัญญาได้นั้นต้องมีการฝึกฝนมากๆๆเลย

สิ่งที่คนทั่วไปยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับความทุกข์ก็เพราะไม่ได้ใช้สติในการพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในจิตใจของตนเองและเรื่องภายนอกที่เข้ามากระทบกับชีวิตประจำวัน ยิ่งไม่ได้ปฏิบัติธรรมแล้วยิ่งหายไกลสิ่งที่เรียกว่าการใช้สติปัญญาในการใช้ชีวิต แม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมก็ยังประมาทไม่ได้เด็ดขาดเพราะถ้ายังไม่หมดกิเลสไม่ว่าจะทำอะไรก็จะพบเจอแต่ความทุกข์เป็นเสียส่วนใหญ่ ต้องบอกว่ากิเลสสมัยนี้มันล่อหูล่อตาคนได้มากไม่เหมือนสมัยก่อนเพราะเทคโนโลยียังไม่ทันสมัยมากนักยิ่งนานวันกิเลสยิ่งมีอำนาจมากขึ้นในจิตใจของผู้คนในปัจจุบัน

พระอาจารย์ทั้งหลายท่านได้สอนแนวทางในการแก้ไขทุกข์ทั้งหมดนี้ เพียงแต่คนสามัญชนธรรมดานั้นมองข้ามไป โดยแนวทางในการแก้ไขนั้นไม่ได้ใช่เงินทอง หรือต้องเดินทางไปที่ไหนให้เหนื่อยแต่อย่างใด เพียงแค่แก้ที่ใจของตนเองเท่านั้น  ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งหลายก็บอกว่าง่ายๆ คือ ให้เราทั้งหลายทำการภาวนาจิตของตนเอง ส่วนวิธีจะทำอย่างไร ใน youtube มีวีดีโอสอนเยอะมาก ส่วนตัวผมดูของท่านหลวงตามหาบัวเพราะมันถูกกับนิสัยของผม ส่วนท่านใดสนใจจะดูพระอาจารย์ท่านอื่นก็ได้ครับไม่บังคับเจาะจง

 

eagle freedom

About Post Author

ข่าวที่คุณอาจพลาดชม

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial